-

Lazada Indonesia

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551


ข้อสอบ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551




1. ข้อใดคือวิสัยทัศน์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
ก. มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความเป็นพล
     เมืองไทย พลเมืองโลกที่ดี
ข. มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย 
     ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย
ค. มุ่งยกระดับสติปัญญาของนักเรียนให้สูงขึ้น รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถแข่งขัน
     ในเวทีโลกได้
ง. ถูกทุกข้อ
2. หลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 มีกี่ข้อ
 ก. ข้อ  ข. ข้อ
 ค. ข้อ  ง. ข้อ
3. ข้อใดไม่ใช่หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน51
 ก. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ
 ข. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน
 ค. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ
 ง. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างชัดเจน เข้าใจง่าย
4. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็น มีลักษณะเช่นไร
 ก. คนดี  มีปัญญา  มีความสุข  มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ
 ข. คนดี  คนเก่ง  มีปัญญา  นำพาสังคมสู่ความรุ่งเรือง
 ค. มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งกาย  ใจ  มีความสุขในการดำรงชีวิต
 ง. มนุษย์ที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์
5. ข้อใดคือจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
 ก. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์
 ข. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมี
     ทักษะชีวิต
 ค. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
 ง. ถูกทุกข้อ
6. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญกี่ประการ
 ก. ประการ ข. ประการ
 ค. ประการ ง. ประการ
7. ข้อใดเป็นสมรรถนะที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ
 ก. ความสามารถในการสื่อสาร
 ข. ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
 ค. ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
 ง. ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
8. ข้อใดคือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51
 ก. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ข. ซื่อสัตย์สุจริต
 ค. มีวินัย   ง. ถูกทุกข้อ
9. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 มีกี่กลุ่มสาระการเรียนรู้
 ก. 8   ข. 9
   ค. 10   ง. 11
10. สิ่งสะท้อนให้รู้ว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร
 ก. สาระการเรียนรู้   ข. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 ค. เนื้อหาการเรียน   ง. มาตรฐานการเรียนรู้
11. สิ่งที่นักเรียนพึ่งรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น
 ก. ตัวชี้วัด    ข. ตัวบ่งชี้
 ค. สมรรถนะ   ง. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
12. เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ
 ก. ตัวชี้วัดชั้นปี   ข. ตัวบ่งชี้ชั้นปี
 ค. สมรรถนะชั้นปี   ง. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังชั้นปี
13. เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ก. ตัวชี้วัดชั้นปี   ข. ตัวบ่งชี้ชั้นปี
 ค. สมรรถนะชั้นปี   ง. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังชั้นปี
14. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51แบ่งเป็นกี่ลักษณะ
 ก. 2     ข. 3
 ค. 4     ง. 5
15. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม สอดคล้องกับข้อใด
 ก. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 
 ข. สาระการเรียนรู้
 ค. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 ง. กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
16. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ
 ก. กิจกรรมแนะแนว 
 ข. กิจกรรมนักเรียน
 ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
 ง. กิจกรรมชุมนุม ชมรม
17. เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม
 ก. กิจกรรมแนะแนว 
 ข. กิจกรรมนักเรียน
 ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
 ง. กิจกรรมชุมนุม ชมรม
18. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญประโยชน์ตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร
 ก. กิจกรรมแนะแนว 
 ข. กิจกรรมนักเรียน
 ค. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
 ง. กิจกรรมชุมนุม ชมรม
19. ระดับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 จัดเป็นกี่ระดับ
 ก. 3  ข. 4
 ค. 5  ง. 6
20. มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิด คำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม คือการจัดการศึกษาระดับใด
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนกลาง
21. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนกลาง
22. เน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้านสนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนกลาง
23. จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน ชั่วโมง
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนกลาง
24. จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่เกิน ชั่วโมง
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนกลาง
25. จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า ชั่วโมง
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนกลาง
26. การจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค 80 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับกี่หน่วยกิต
 ก. 1  ข. 2
 ค. 3  ง. 4
27. รวมเวลาเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 1000 ชั่วโมง/ปี 
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับก่อนประถมศึกษา
28. รวมเวลาเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 1200 ชั่วโมง/ปี
 ก. ระดับประถมศึกษา
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ง. ระดับก่อนประถมศึกษา
29. โครงสร้างเวลาเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวม ปี ไม่น้อยกว่ากี่ชั่วโมง
 ก. 1200  ข. 2000
 ค. ไม่น้อยกว่า 3600 ง. ไม่น้อยกว่า 4000
30. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีเวลาปีละกี่ชั่วโมง
 ก. ปีละ 120 ชั่วโมง   ข. ปีละ 200 ชั่วโมง
 ค. ปีละ 360 ชั่วโมง   ง. ปีละ 260 ชั่วโมง
31. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ มีเวลาปีละกี่ชั่วโมง
 ก. ปีละ 120 ชั่วโมง   ข. ปีละ 200 ชั่วโมง
 ค. ปีละ 360 ชั่วโมง   ง. ปีละ 260 ชั่วโมง
32. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างไร
 ก. ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
 ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) รวม ปี จำนวน 45 ชั่วโมง
 ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
 ง. ถูกทุกข้อ
33. ยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน สอดคล้องกับข้อใด
 ก. หลักการจัดการเรียนรู้  ข. การออกแบบการเรียนรู้
 ค. กระบวนการเรียนรู้   ง. ถูกทุกข้อ
34. ในการจัดทำ การเลือกใช้ และการประเมินคุณภาพ สื่อสารเรียนรู้ที่ใช้ในสถานศึกษา ควรคำนึงถึงสิ่งใด
 ก. ความสอดคล้องกับหลักสูตร  ข. วัตถุประสงค์การเรียนรู้
 ค. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ง. ถูกทุกข้อ
35. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักพื้นฐานอะไร
 ก. เพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน
 ข. เพื่อตัดสินการสอบผ่านและไม่ผ่าน
 ค. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน
 ง. เพื่อประเมินตามสภาพจริง สอดคล้องกับการเรียนรู้
36. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 แบ่งเป็นกี่ระดับ
 ก. 4  ข. 5
 ค. 6  ง. 7
37. เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนดำเนินการเป็นปกติและสม่ำเสมอในการจัดการเรียนการสอน
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
38. เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนพัฒนาการความก้าวหน้าในการเรียนรู้ อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
39. เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
40. เป็นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงนโยบาย หลักสูตร โครงการ หรือวิธีการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
41. ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามภาระความผิดชอบ
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
42. สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนที่เรียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่เข้ารับการประเมิน
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
43. ผลจากการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบาย
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
44. ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ใครเป็นผู้ดำเนินการจัดทำ
 ก. เขตพื้นที่การศึกษา 
 ข. สถานศึกษา
 ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 ง. กระทรวงศึกษาธิการ
45. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการตัดสินผลการเรียนในระดับใด
 ก. ก่อนประถมศึกษา   ข. ประถมศึกษา
 ค. มัธยมศึกษา   ง. ถูกทุกข้อ
46. ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้นๆ ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน แลมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการตัดสินผลการเรียนในระดับใด
 ก. การประเมินระดับชั้นเรียน  ข. การประเมินระดับสถานศึกษา
 ค. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ง. การประเมินระดับชาติ
47. การพิจารณาเลื่อนชั้นทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของใครที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้
 ก. เขตพื้นที่การศึกษา
 ข. สถานศึกษา
 ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 ง. กระทรวงศึกษาธิการ
48. หากผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น สถานศึกษาจะดำเนินการอย่างไร
 ก. ตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้
 ข. ปรึกษากับเขตพื้นที่การศึกษา
 ค. ประชุมผู้ปกครองนักเรียนที่ไม่ผ่าน
 ง. ถูกทุกข้อ
49. ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนการรายวิชาสถานศึกษาสามารถให้ระดับผลการเรียนหรือระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียน เป็นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้คำสำคัญสะท้อนมาตรฐาน
 ก. ก่อนประถมศึกษา   ข. ประถมศึกษา
 ค. มัธยมศึกษา   ง. ถูกทุกข้อ
50. ให้ระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน สอดคล้องกับการประเมินในข้อใด
 ก. การประเมินการอ่าน
 ข. การประเมินการคิดวิเคราะห์และเขียน
 ค. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
 ง. ถูกทุกข้อ
51. ในการตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชา ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น ระดับ
 ก. ก่อนประถมศึกษา   ข. ประถมศึกษา
 ค. มัธยมศึกษา   ง. ถูกทุกข้อ
52. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างไร
 ก. ดี  ดีเยี่ยม   ข. ผ่าน  ไม่ผ่าน
 ค. ดีเยี่ยม  ดี  ผ่าน  ไม่ผ่าน  ง. ถูกทุกข้อ
53. การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเยนรู้ของผู้เรียนซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละกี่ครั้ง
 ก. ครั้ง    ข. ครั้ง
 ค. ครั้ง    ง. ครั้ง
54. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบการศึกษาเป็นกี่ระดับ
 ก. ระดับ    ข. ระดับ
 ค. ระดับ    ง. ระดับ
55. (1) ผู้เรียนรายวิชาพื้นฐาน และรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติมตามโครงสร้างเวลาเรียน ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
(2) ผู้เรียนต้องมีผลการประเมินรายวิชาพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(3) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(4) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(5) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนดเป็นเกณฑ์การจบการศึกษาระดับใด
 ก. ก่อนประถมศึกษา   ข. ประถมศึกษา
 ค. มัธยมศึกษา   ง. ถูกทุกข้อ
56. (1) ผู้เรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
(2) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 39 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า38 หน่วยกิต
(3) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(4) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(5) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนดเป็นเกณฑ์การจบการศึกษาระดับใด
 ก. ก่อนประถมศึกษา   ข. ประถมศึกษา
 ค. มัธยมศึกษา   ง. ถูกทุกข้อ
57. (1) ผู้เรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม ไม่เกิน 81 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
(2) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 63 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า14 หน่วยกิต
(3) ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(4) ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(5) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนดเป็นเกณฑ์การจบการศึกษาระดับใด
 ก. ก่อนประถมศึกษา   ข. ประถมศึกษา
 ค. มัธยมศึกษา   ง. ถูกทุกข้อ
58. เอกสารหลักฐานการศึกษา เป็นเอกสารสำคัญที่บันทึกผลการเรียน ข้อมูลสารและสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่างๆ แบ่งเป็นกี่ประเภท
 ก. 2    ข. 3
 ค. 4    ง. 5
59. เป็นเอกสารแสดงผลการเรียนและรับรองผลการเรียนของผู้เรียนตามรายวิชา ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา และผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 ก. ระเบียนแสดงผลการเรียน  ข. ประกาศนียบัตร
 ค. แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา  ง. แบบรายงานประจำตัวนักเรียน
60. ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อยเป็นระยะเวลาเท่าใด
 ก. ภาคเรียน   ข. ภาคเรียน
 ค. ปี    ง. ปี

1 ความคิดเห็น: