-

Lazada Indonesia

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบการวิจัยทางการศึกษา


ข้อสอบการวิจัยทางการศึกษา


ข้อสอบการวิจัยทางการศึกษา
1) การวิจัยในชั้นเรียนจัดเป็นการวิจัยรูปแบบใด 
ก. การวิจัยเชิงปริมาณ 
ข. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ . 
ค. การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎี 
ง. การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือ 

2) “การพัฒนาพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนชั้น ป. 6” ข้อใดคือตัวแปรตาม 
ก. เพศ 
ข. ระดับชั้น 
ค. วิธีการพัฒนา 
ง. พฤติกรรมการอ่าน . 

3) จากข้อ ข้อใดไม่ควรกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะมากที่สุด 
ก. นักเรียน . 
ข. นวัตกรรม 
ค. วิธีการพัฒนา 
ง. พฤติกรรมการอ่าน 

4) การคาดคะเนคำตอบของการวิจัยอย่างมีเหตุผล ตรงกับข้อใด 
ก. ความมุ่งหมายการวิจัย 
ข. สมมุติฐานการวิจัย . 
ค. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย 
ง. การอภิปรายผลการวิจัย 

5) ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการวิจัยในชั้นเรียน 
ก. แก้ปัญหาผู้เรียน 
ข. หาสาเหตุของพฤติกรรม 
ค. พัฒนาผู้เรียน 
ง. ประเมินตัดสินผู้เรียน . 

6) “ด.ช.แดงขาดเรียนบ่อย ๆ” ควรตั้งคำถามการวิจัยว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด 
ก. ทำไม ด.ช.แดงจึงขาดเรียน 
ข. จะแก้ปัญหาการขาดเรียนของด.ช.แดงอย่างไร . 
ค. ห้องเรียนมีปัญหาอะไร ด.ช.แดงจึงขาดเรียน 
ง. ทางบ้าน ด.ช.แดงมีปัญหาอะไร จึงต้องขาดเรียน 


7) “ด.ช.ดำไม่ชอบทำงานรวมกลุ่มกับเพื่อน” ควรใช้วิธีการใดในการรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา 
ก. การทดสอบ 
ข. การสังเกต 
ค. การสัมภาษณ์ . 
ง. การใช้แบบสอบถาม 

8) “ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจบทเรียน” ควรออกแบบการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในลักษณะใด 
ก. เชิงทดลองพัฒนาสื่อนวัตกรรม . 
ข. เชิงสำรวจหาสาเหตุปัญหา 
ค. เชิงปริมาณอ้างอิงทฤษฎีการเรียนรู้ 
ง. เชิงปฏิบัติการอบรมพัฒนาการเรียนรู้ 

9) “ความพึงพอใจของครูต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์หัวข้อวิจัยนี้ควรใช้เครื่องมือชนิดใดในการเก็บรวบรวมข้อมูล 
ก. แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า . 
ข. แบบทดสอบอิงเกณฑ์ 
ค. แบบสังเกตพฤติกรรม 
ง. แบบสัมภาษณ์ 

10) ข้อใดไม่ใช่การหาคุณภาพของแบบทดสอบ 
ก. ความเที่ยงตรง 
ข. ความเชื่อมั่น 
ค. อำนาจจำแนก 
ง. ความเป็นสากล . 

11) “การวิเคราะห์ความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนหลังเรียนด้วยชุดฝึกของนักเรียนชั้น ป.โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์ จำนวน 40 คน” ควรใช้สถิติใดวิเคราะห์ความแตกต่าง 
ก. t-test . 
ข. ANOVA 
ค. Z-test 
ง. F-test 

12) “เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์” ความมุ่งหมายของการวิจัยนี้ ควรใช้สถิติข้อใดในการนำเสนอ 
ก. ค่าเฉลี่ย และร้อยละ . 
ข. การวิเคราะห์ความแปรปรวน 
ค. การทดสอบที 
ง. การทดสอบไคว์สแควร์ 


13) การอภิปรายผลการวิจัยควรจัดไว้ในส่วนใด 
ก. บทที่ 1 
ข. บทที่ 3 
ค. บทที่ 4 
ง. บทที่ 5 . 

14) “การศึกษาการอ่านของนักเรียนชั้น ป.จังหวัดศรีสะเกษ” หัวข้อวิจัยนี้ควรเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด 
ก. เลือกแบบเจาะจง 
ข. สุ่มแบบอย่างง่าย 
ค. สุ่มแบบแบ่งชั้น 
ง. สุ่มแบบหลายขั้นตอน . 

15) . “การศึกษาการอ่านของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ” หัวข้อวิจัยนี้ควรเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด 
ก. เลือกแบบเจาะจง 
ข. สุ่มแบบอย่างง่าย 
ค. สุ่มแบบแบ่งชั้น . 
ง. สุ่มแบบหลายขั้นตอน 

16) ข้อใดไม่ใช่วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 
ก. ใช้การคาดคะเน . 
ข. ใช้สูตรคำนวณ 
ค. ใช้ตารางสำเร็จรูป 
ง. ใช้เกณฑ์ร้อยละ 

17) ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดควรมีค่าเท่าใด 
ก. .05 – 1.00 
ข. .20 – 1.00 . 
ค. .05-.80 
ง. .20-.80 

18) ความสำคัญของการวิจัยควรนำเสนอในส่วนใด 
ก. บทที่ 1 . 
ข. บทที่ 3 
ค. บทที่ 4 
ง. บทที่ 5 

19) ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือในการวิจัย 
ก. แบบสอบถาม 
ข. แผนการจัดการเรียนรู้ 
ค. นวัตกรรม 
ง. โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS . 

20) ข้อใดกล่าวถึงการวิจัยในชั้นเรียนตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้อย่างถูกต้องที่สุด 
ก. ครูทุกคนต้องดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง 
ข. การวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน . 
ค. การวิจัยในชั้นเรียนเป็นเครื่องประเมินวิทยฐานะครู 
ง. ครูต้องเชี่ยวชาญในการวิจัยในชั้นเรียน 

21) สมมุติฐานการวิจัยควรกำหนดไว้ในส่วนใด 
ก. บทที่ 1 . 
ข. บทที่ 3 
ค. บทที่ 4 
ง. บทที่ 5 

22) “การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา” ควรหาคุณภาพเครื่องมืออย่างไร 
ก. ค่าความเชื่อมั่นของครอนบาค 
ข. ดัชนีประสิทธิภาพ E1/E2 . 
ค. หาค่าความยากง่าย 
ง. หาค่าอำนาจจำแนก 

23) “การวัดการอ่านออกเสียง” ควรใช้เครื่องมือตามรูปแบบในข้อใดจึงจะเหมาะสมที่สุด 
ก. แบบตรวจสอบรายการ 
ข. แบบมาตราส่วนประมาณค่า 
ค. แบบสัมภาษณ์ 
ง. แบบทดสอบ . 

24) นักเรียนชั้น ป.โรงเรียนบ้านแดงมีจำนวน 12 คน หากต้องการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการคิดคำนวณ ควรเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีใด 
ก. เลือกแบบเจาะจง . 
ข. สุ่มแบบอย่างง่าย 
ค. สุ่มแบบแบ่งชั้น 
ง. สุ่มแบบหลายขั้นตอน 

25) การวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ใช้เวลาไม่มากนัก คือการวิจัยแบบใด 
ก. การวิจัยเชิงประเมิน 
ข. การวิจัยเชิงบรรยาย 
ค. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ . 
ง. การวิจัยต่อยอด 

26) แบบจำลอง CIPP Model เป็นแนวคิดของใคร 
ก. Tyler 
ข. Scriven 
ค. Provus 
ง. Stufflebeam . 

27) จากรูปแบบ CIPP “P” ตัวที่ หมายถึงข้อใด 
ก. ผลลัพธ์ . 
ข. ผลผลิต 
ค. กระบวนการ 
ง. ผลสะท้อนกลับ 

28) ขั้นตอนใดที่ควรดำเนินการประเมินก่อนการเริ่มโครงการ 
ก. C . 
ข. I 
ค. P 
ง. ถูกทุกข้อ 

29) รูปแบบการวิจัยของ Kemmis and McTaggart คือข้อใด 
ก. PDCA 
ข. CIPP 
ค. PAOR . 
ง. KAMT 

30) “การพัฒนาด้านการรักษาความสะอาดของโรงเรียนบ้านแดง” ควรออกแบบการวิจัยอย่างไร 
ก. วิจัยเชิงประเมิน 
ข. วิจัยเชิงทดลอง 
ค. วิจัยเชิงบรรยาย 
ง. วิจัยเชิงปฏิบัติการ . 

31) จากข้อ 30 ไม่ควรใช้เครื่องมือในข้อใดเก็บรวบรวมข้อมูล 
ก. แบบสังเกต 
ข. แบบสัมภาษณ์ 
ค. แบบทดสอบ . 
ง. แบบสำรวจ 

32) จากข้อ 30 ข้อใดคือตัวแปรต้น 
ก. วิธีการพัฒนา . 
ข. พฤติกรรมการรักษาความสะอาด 
ค. สภาพทางสังคมของนักเรียน 
ง. สภาพการบริหารของโรงเรียนบ้านแดง 

33) หากต้องการส่งงานวิจัยจากข้อ 30 เพื่อขอเลื่อน วิทยฐานะ ผู้วิจัยควรเป็นบทบาทของใคร 
ก. ครูผู้สอนสังคมศึกษา ฯ 
ข. ครูทุกคน 
ค. ผู้บริหาร . 
ง. ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

34) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิจัยตามรูปแบบของ Kemmis and McTaggart 
ก. เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 
ข. มีการสะท้อนผลการปฏิบัติ 
ค. ควรดำเนินการอย่างรัดกุมเพียงรอบเดียว . 
ง. การวิจัยนี้ต้องมีผู้ร่วมวิจัยด้วย 

35) ข้อใดคือวงจรการบริหารตามแบบเดมมิ่ง 
ก. PDCA . 
ข. CIPP 
ค. PAOR 
ง. PBBS 

36) หากต้องการทราบว่า การสอนโดยใช้สื่อประสมส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าการสอนแบบบรรยาย ควรออกแบบการวิจัยอย่างไร 
ก. ให้การสอนแบบบรรยายเป็นกลุ่มควบคุม . 
ข. ให้ครูผู้สอน คน สอนคนละแบบ 
ค. ให้นักเรียนกลุ่มเดียวเรียนทั้ง แบบ 
ง. ใช้ข้อสอบก่อนและหลังเรียนคนละฉบับ 

37) จากข้อ 36 ข้อใดคือตัวแปรต้น 
ก. การสอนแบบบรรยาย 
ข. การสอนโดยใช้สื่อประสม 
ค. การสอนแบบบรรยายและการสอนโดยใช้สื่อประสม . 
ง. ง. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 

38) “ชุดการสอนเรื่องการเพาะเห็ดฟาง มีค่า E1/E2 เท่ากับ 82.12/83.15” ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับค่า E1 
ก. เป็นผลการทดสอบก่อนเรียน 
ข. เป็นคะแนนระหว่างเรียน . 
ค. เป็นผลการทดสอบหลังเรียน 
ง. เป็นผลการสอบรวม 

39) จากข้อ 38 สรุปได้ว่าอย่างไร 
ก. นวัตกรรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 
ข. นวัตกรรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 . 
ค. จากการสอนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 
ง. จากการสอนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับ .05 

40) จากข้อ 38 ผลการวิจัยนี้น่าจะมาจากการวิจัยรูปแบบใด 
ก. เชิงทดลอง . 
ข. เชิงบรรยาย 
ค. ศึกษารายกรณี 
ง. เชิงประเมิน 

41) “ต้องการนำผลการวิจัยไปสรุปผลการดำเนินการ และเป็นข้อมูลในการวางแผนเพื่อพัฒนาต่อไป” เป็นลักษณะของการวิจัยรูปแบบใด 
ก. เชิงทดลอง 
ข. เชิงบรรยาย 
ค. ศึกษารายกรณี 
ง. เชิงประเมิน . 

42) แบบทดสอบอิงเกณฑ์ สอบครั้งเดียวหลังเรียนควรใช้วิธีในข้อใดหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 
ก. KR-20 
ข. KR-21 
ค. Lovett Method . 
ง. Carver Method 

43) การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อสอบอิงเกณฑ์ ควรใช้วิธีในข้อใด 
ก. B-Index 
ข. p,r 
ค. IOC . 
ง. KR-20 

44) เมื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านในชั้นเรียน พบว่า มีนักเรียน คน จาก 45 คน ที่อ่านไม่ได้ ครูควรดำเนินการออกแบบการวิจัยแก้ปัญหาอย่างไร 
ก. วิจัยเชิงทดลองพัฒนานวัตกรรม 
ข. วิจัยเชิงประเมินเพื่อแก้ปัญหา 
ค. ศึกษารายกรณีแก้ปัญหา . 
ง. พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 

45) การทดลองนวัตกรรมกลุ่มย่อย 1 : 1 ดำเนินการเพื่ออะไร 
ก. แก้ไขข้อบกพร่องด้านภาษาและรูปแบบต่าง ๆ . 
ข. ประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน 
ค. เก็บข้อมูลเพื่อรวบรวมกับกลุ่มใหญ่ 
ง. ถูกทุกข้อ 

46) ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยใช้ t-test Dependence Sample การวิจัยนี้น่าจะออกแบบการทดลองแบบใด 
ก. ทดลองกลุ่มเดียว สอบครั้งเดียว 
ข. ทดลองกลุ่มเดียว สอบสองครั้ง . 
ค. ทดลองสองกลุ่ม สอบครั้งเดียว 
ง. ทดลองสองกลุ่ม สอบสองครั้ง 

47) ข้อใดกล่าวถูกต้อง 
ก. การวิจัยที่ดีต้องเน้นสถิติขั้นสูง 
ข. ผู้บริหารไม่ควรดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน 
ค. ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องมีความรอบรู้ในเรื่องที่ทำวิจัยมากนักก็ได้ 
ง. การวิจัยเชิงทดลองต้องควบคุมไม่ให้ตัวแปรอื่นส่งผลต่อการวิจัย . 

48) ข้อใดเป็นการทดสอบสมมุติฐานแบบสองทาง 
ก. นักเรียนที่เรียนด้วย CAI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกัน . 
ข. นักเรียนที่เรียนด้วย CAI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียน 
ค. นักเรียนที่เรียนด้วย CAI มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 
ง. ถูกข้อ ข และ ค 

49) ข้อมูลที่ได้จากแบบวัดแบบ Rating Scale จัดอยู่ในมาตรการวัดใด 
ก. นามบัญญัติ 
ข. เรียงอันดับ 
ค. อันตรภาค . 
ง. อัตราส่วน 

50) ข้อใดเป็นข้อมูลในมาตรอัตราส่วน 
ก. แดงมีเงิน 300 บาท . 
ข. แดงสอบได้คะแนนมากกว่าเหลือง คะแนน 
ค. ดำได้เกรด 3.95 ถือว่าสูงมาก 
ง. ขาวหล่อกว่าเขียวนิดหน่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น